วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2566

กลิ่นไม่พึงประสงค์ของหมู่บ้านที่อยู่กันมานาน

    หมู่บ้านที่มีผู้พักอาศัยกันอยู่กันจำนวนมากและหมู่บ้านที่มีอายุการใช้งานมานาน

ถ้ามีการบริหารจัดการเรื่องระบบการจัดการเรื่องขยะและระบบน้ำเสียไม่ดีพอ เช่นปล่อยให้การทิ้งขยะที่หมักหมม กว่าจะมาจัดเก็บเป็นเวลานาน หรือระบบน้ำทิ้งน้ำเสีย ไม่มีการดูแลหรือบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ดี   ปัญหาเหล่านี้สำหรับหมู่บ้านที่  มีนิติบุคคลดูแลและกรรมการเอาใจใส่รักษาสภาพแวดล้อมให้ลูกบ้านที่ยอมเสียค่าส่วนกลาง มอบความไว้วางใจให้กรรมการมาบริหารงาน  ก็นับว่าเป็นความโชดดีของลูกบ้านของหมู่บ้านนั้นๆ    แต่สำหรับหมู่บ้านที่ประสบปัญหาสภาพแวดล้อมดังกล่าว ก็จะมีช่องทางหลายช่องทางเช่น  แจ้งผู้เกี่ยวข้องให้แก้ปัญหา(ที่สุดจะทน) กรรมการนิติบุคคล(ถ้ามี)ที่ไม่เอาใจใส่ต่อความเป็นอยู่ของลูกบ้าน (ครั้งหน้าก็อย่าเลือกเข้ามาอีก) หรือ อบต. เทศบาล อบจ. เป็นต้น

                    บางครั้งการช่วยตนเองเบื้องต้นอาจเป็นทางออก  ที่น่าจะพอทำได้โดยใช้ EM มาใช้ในการบำบัดน้ำเสีย กำจัดกลิ่นเหม็น ซึ่งมาจากหลายสาเหตุ

                     - จากมูลสัตว์

                     - จากบ้านเรือน ร้านอาหาร

                     - โรงงาน   ฯลฯ

กลิ่นเหม็นเหล่านี้เมื่อสูดดมเข้าไปทำให้สุขภาพ ไม่ดีได้ เกิดโรคต่างๆเช่นภูมิแพ้ได้

(ที่แน่ๆคือเสียสุขภาพจิต)

การใช้ EM ผสมน้ำ อัตร 1 : 10,000 ส่วน รด ราดตามท่อระบายน้ำ หรือผสมลงในถังบำบัดน้ำเสีย ช่วยบำบัดน้ำเสียได้เป็นอย่างดี ใส่ทุกๆ 1 -2 สัปดาห์ กลิ่นจะหายไปในช่วงวันที่ 3 - 5 ใช้ติดต่ออีก 2 -3 เดือนจะได้ผลดี

สำหรับ EM สามารถขอได้จาก ผู้ใหญ่บ้าน,กำนัน,อบต. เทศบาล เกษตรตำบล ,อำเภอ  หากถ้าไม่อยากไปขอ เดี๋ยวนี้ร้านค้าที่ขายเกี่ยวกับอุปกรณ์ทางการเกษตรมีจำหน่ายทั่วไป ราคาไม่แพง สำหรับผู้ที่ต้องการทำไว้ใช้นานๆเยอะๆสามารถซื้อมาครั้งเดียว ทำเป็น EM ขยายโดยใช่ EM  1 ช้อนโต๊ะ กากน้ำตาล  1 ช้อนโต๊ะ  น้ำสะอาด  1 ลิตร ถ้าเป็นน้ำประปา ต้องเก็บไว้หลายๆวันจนปราศจากคลอรีล ใส่ขวดพลาสติก เขย่าให้เข้ากัน เก็บในที่ร่ม 3 - 5 วันนำไปใช้ได้ และยังสามารถทำ EM ขยายไปได้เรื่อยๆ (ปกติขยายไป 4 รอบ)   

วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

เตือนก.ม.ใหม่จัดหนักค้างค่าส่วนกลาง

เตือนก.ม.ใหม่จัดหนักค้างค่าส่วนกลาง

เตือนก.ม.ใหม่จัดหนักค้างค่าส่วนกลาง เพิ่มอำนาจนิติบุคคลอายัดจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม

 
                    ที่ผ่านมาโครงการบ้านจัดสรรจำนวนไม่น้อยประสบปัญหาเรื่องการจัดเก็บค่าส่วนกลาง เนื่องจากผู้อยู่อาศัยอ้างเรื่องความไม่พึงพอใจในบริการ และไม่ได้อยู่อาศัยในโครงการ หรือแม้แต่การจงใจไม่จ่าย แต่ไม่ว่าจะเหตุผลใดก็ตาม ส่งผลต่อการบริหารสินทรัพย์ภายในโครงการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะหากงบประมาณไม่เพียงพอต่อการบำรุงซ่อมแซมสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ จะส่งผลต่อความเสื่อมโทรมของโครงการด้วย
 
                    นายธนันทร์เอก หวานฉ่ำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเตอร์เรียลตี้แมเนจเม้นท์ จำกัด (IRM) และอดีตนายกสมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า เชื่อว่าปัญหาดังกล่าวจะค่อยๆ ลดลงเพราะภาครัฐได้ประกาศใช้กฎหมายจัดสรรที่ดินฉบับแก้ไขใหม่ ซึ่งได้มีการกำหนดหลักการและวิธีการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม (อายัด) ในกรณีที่ค้างชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลาง ส่งผลให้เจ้าของบ้านไม่สามารถทำนิติกรรมใดๆ กับบ้านของตนเองได้ ทั้งนี้ สาระสำคัญของกฎหมายจัดสรรที่ดินฉบับแก้ไขนี้ ได้เปิดโอกาสให้นิติบุคคลบ้านจัดสรรและผู้ประกอบการสามารถแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม (อายัด) ในที่ดินจัดสรรแปลงที่ค้างชำระค่าส่วนกลางได้แต่ตั้ง 6 เดือนขึ้นไป
 
                    ทั้งนี้ ในกรณีที่นิติบุคคลบ้านจัดสรรจะดำเนินการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม กับที่ดินแปลงที่มีปัญหาเรื่องค่าส่วนกลาง จะต้องมีหนังสือแจ้งให้ผู้ค้างชำระทราบก่อน โดยต้องบอกล่วงหน้าให้ชำระไม่น้อยกว่า 15 วันนับจากวันที่ได้รับหนังสือ และต้องส่งไปรษณีย์ลงทะเบียนแบบตอบรับเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินสั่งระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม (อายัด) หลังจากนั้นทางที่ดินจะมีหนังสือแจ้งให้เจ้าของที่ดินได้รับทราบเรื่องการถูกระงับดังกล่าวหากเจ้าของที่ดินตระหนักถึงการถูกระงับและดำเนินการชำระค่าส่วนกลางแล้ว
 
                    นิติบุคคลบ้านจัดสรรหรือผู้ประกอบการ จะต้องทำหนังสือแจ้งไปยังเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อให้ยกเลิกการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมภายใน 7 วัน นับจากวันที่เจ้าของที่ดินชำระค่าส่วนกลาง
 
                    นอกจากนี้ แล้วกฎหมายจัดสรรที่ดินฉบับแก้ไขใหม่นี้ ยังระบุถึงกรณีที่ผู้จัดสรรที่ดินได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินให้สามารถจัดเก็บค่าบริการส่วนกลาง แต่ยังไม่ได้จัดตั้งนิติบุคคลบ้านจัดสรร ซึ่งส่วนใหญ่ได้จัดเก็บล่วงหน้าจากผู้ซื้อไปแล้ว และหมู่บ้านจัดสรรส่วนใหญ่จะเก็บค่าส่วนกลางล่วงหน้า 2 ปี เมื่อครบกำหนด 2 ปีแล้วผู้จัดสรรที่ดินสามารถแจ้งการจัดเก็บรอบใหม่ได้อีกครั้ง หากผู้ซื้อที่ดินจัดสรรยังไม่ชำระและค้างชำระตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ผู้ประกอบการสามารถแจ้งให้เจ้าหน้าที่ที่ดินระงับการจัดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมได้เช่นกัน
 
                    "สำหรับผู้ที่ค้างชำระนอกจากจะต้องถูกอายัดในเรื่องการจดทะเบียนและนิติกรรมต่างๆ แล้ว จะต้องเสียค่าปรับ 10% ของจำนวนยอดเงินที่ค้างชำระ รวมทั้งอาจไม่ได้รับความสะดวกในบริการต่าง ๆ ในหมู่บ้าน เช่น คีย์การ์ดไม่เข้า-ออกหมู่บ้านไม่สามารถใช้งานได้ ต้องแลกบัตรเข้าโครงการเหมือนผู้ที่มาติดต่อ ซึ่งจะเป็นการสร้างความยุ่งยากในอยู่อาศัย ที่สำคัญจะส่งผลเสียต่อมูลค่าโครงการจะลดลง ดังนั้น นิติบุคคลบ้านจัดสรรและผู้จัดสรรจะต้องมีการประชาสัมพันธ์เรื่องบริการต่างๆ และมีการปรับปรุงการทำงาน เช่น เรื่องความสะอาดและปลอดภัยในโครงการ เพื่อป้องกันมิให้ผู้อยู่อาศัยนำมาใช้เป็นข้ออ้างในการจ่ายค่าส่วนกลาง นอกจากนี้แล้ว นักบริหารมืออาชีพจะต้องทำหน้าที่ต่างๆ ในการสร้างความพึงพอใจให้กับผู้อยู่อาศัยในโครงการ” นายธนันทร์เอกกล่าว
 
                    ขณะที่หลังจากกฎหมายจัดสรรที่ดินฉบับแก้ไขใหม่มีผลประกาศบังคับใช้ สาระสำคัญจะมีผลต่อผู้ประกอบการจัดสรรหลายอย่างด้วยกัน โดยเฉพาะเรื่องการกำหนดค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่ระบุไว้ในการขออนุญาตจัดสรรว่าจะต้องกำหนดการเก็บค่าส่วนกลางในจำนวนที่สอดคล้องกับระยะเวลาในการก่อสร้างโครงการ เนื่องจากในระหว่างการก่อสร้าง 2-3 ปีผู้ประกอบการจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนกลาง ทั้งค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าพนักงานรักษาความปลอดภัย ฯลฯ อย่างไรก็ตาม จะจัดเก็บค่าส่วนกลางมากหรือน้อยเกินไปจะมีผลต่อการดำเนินงานทั้งสิ้น เพราะหากกำหนดการจัดเก็บค่าส่วนกลางน้อยและไม่เพียงพอค่าใช้จ่ายผู้ประกอบการจะต้องรับผิดชอบเองทั้งหมด และหากกำหนดค่าส่วนกลางสูงเกินไปก็จะมีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค
 
                    นอกจากนี้ ยังมีเรื่องข้อบังคับเกี่ยวกับการซ่อมแซมและบำรุงรักษาระบบสาธารณูปโภค รวมทั้งบริการสาธารณะในโครงการจัดสรร ซึ่งกฎหมายใหม่ระบุจะต้องแจ้งให้หน่วยงานภาครัฐเข้าไปตรวจสอบ เพื่อมีใบรับรองว่ามีความสมบูรณ์และสามารถใช้งานได้ เพราะหากไม่มีการซ่อมแซมและดูแลอย่างสม่ำเสมอ จะไม่ผ่านการตรวจสอบจากหน่วยงานของรัฐ และอาจส่งผลต่อการจดทะเบียนนิติบุคคลบ้านจัดสรร เนื่องจากสาธารณูปโภคเหล่านี้จะตกเป็นของนิติบุคคลตามกฎหมาย ดังนั้น จากนี้ไปผู้ประกอบการจะต้องให้ความสำคัญกับการดูแลทรัพย์สินส่วนกลางอยู่ตลอดเวลา
 
                    นายธนันทร์เอกกล่าวเพิ่มเติมว่า กฎหมายจัดสรรฉบับแก้ไขใหม่ยังได้ระบุการจดทะเบียนนิติบุคคลไว้ 3 เรื่องคือ 1.ที่ประชุมต้องมีมติให้จัดตั้งนิติบุคคล 2.ต้องมีการรับรองข้อบังคับ 3.ต้องแต่งตั้งตัวแทนเพื่อดำเนินการจดทะเบียนนิติบุคคล ซึ่งทั้ง 3 ข้อนี้จะต้องมีคะแนนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของที่จำนวนบ้านทั้งหมดในโครงการ ส่วนเรื่องการแต่งตั้งตัวแทนในการจดทะเบียนนิติบุคคลนั้น กฎหมายระบุว่าจะต้องเป็นผู้ดำเนินการจัดประชุมใหญ่อีกครั้ง เพื่อเลือกตั้งกรรมการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับจากเป็นนิติบุคคลแล้วเสร็จ
 

วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

จอดรถกีดขวางทางมีสิทธิติดคุก

จอดรถกีดขวางทางมีสิทธิติดคุก

จอดรถกีดขวางทางคนอื่น  มีสิทธิติดคุก

การจอดรถขวางประตูบ้านของผู้อื่น หรือแม้แต่การจอดขวางทางคนอื่นในลานจอดรถของห้างสรรพสินค้า  ซึ่งถือว่า เป็นที่สาธารณะสถาน ถือว่า เป็นการกระทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนรำคาญ เพราะไม่สามารถนำรถเข้าหรือออกจากบ้าน  หรือออกจากลานจอดไม่ได้

 ข้ออ้างว่าถนนหน้าบ้านเป็นที่สาธารณะ หรือ เจ้าของบ้านไม่ควรใช้รถเมื่อเขาจอดรถบนถนนหน้าบ้าน ใช้อ้างไม่ได้และไร้สาระ เนื่องจากเจ้าของรถใช้สิทธิไปก่อความเดือดร้อนของผู้อื่นทั้งที่รู้แก่ใจถึงความเสียหายนั้นเยี่ยงวิญญูชนพึงรู้กัน จึงถือว่า กระทำความผิดฐานก่อความเดือดร้อนรำคาญใจตามมาตรา 397 หมวดลหุโทษ

ทั้งนี้ เมื่อเป็นความผิดกฎหมายอาญาแล้ว ตำรวจจะปัดไม่รับแจ้งความร้องทุกข์ไม่ได้ ถ้าปฏิเสธ อาจมีโทษฐานละเว้นหน้าที่โดยทุจริต เพราะความผิดฐานนี้ไม่จำเป็นต้องมีความเสียหายเกิดขึ้น แค่เกิดพฤติกรรมที่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนรำคาญใจ ก็เป็นความผิดอาญาฐานนี้แล้ว



คำพิพากษาศาลฎีกาที่  1908/2518

นายปรีชา ธนศิลป์             โจทก์
ร้อยตำรวจโทสุทธี กันตะเพ็ง ที่ 1 นางสุนีย์ กันตะเพ็ง ที่ 2             จำเลย

ป.อ. มาตรา 1(3), 310, 397

           จำเลยจอดรถขวางกั้นไม่ให้โจทก์ถอยรถออกไปจากซอยที่เกิดเหตุ เป็นเพียงขัดขวางไม่ให้โจทก์นำรถออกไปได้เท่านั้น ส่วนตัวโจทก์มีอิสระที่จะออกไปจากซอยได้ การกระทำของจำเลยยังไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 แต่เป็นการรังแกข่มเหงทำให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนรำคาญแม้ซอยนั้นจะอยู่ในที่ดินของผู้มีชื่อซึ่งแบ่งให้ผู้อื่นเช่าปลูกบ้าน แต่ประชาชนก็ชอบที่จะเข้าออกไปติดต่อกับผู้ที่อยู่ในซอยนั้นได้ ถือได้ว่าจำเลยได้กระทำในที่สาธารณสถาน จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 397



           โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองนำรถยนต์และรถจักรยานยนต์จอดขวางถนนซอยเป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถนำรถยนต์ออกไปจากซอยได้ เป็นการหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังโจทก์ให้ปราศจากเสรีภายในร่างกาย และเป็นการรังแกข่มเหงและก่อความเดือดร้อนรำคาญต่อโจทก์ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310, 397 และ 83
           ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้อง มีคำสั่งประทับฟ้อง
          จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ
          ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
          โจทก์อุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 397 ให้จำคุกจำเลยคนละ 15 วัน และปรับคนละ 500 บาท โทษจำคุกให้ยกเสีย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
          โจทก์และจำเลยฎีกา
          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การที่จำเลยจอดรถขวางกั้นไม่ให้โจทก์ถอยรถออกไปจากซอยที่เกิดเหตุนั้น โจทก์ไม่ได้ถูกหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังหรือทำให้โจทก์ปราศจากเสรีภาพในร่างกายแต่อย่างใด โจทก์มีอิสระที่จะออกไปจากซอยนั้นได้ จำเลยเพียงแต่ขัดขวางไม่ให้โจทก์นำรถออกไปได้เท่านั้น การกระทำของจำเลยยังไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 ดังโจทก์ฎีกา
          ส่วนฎีกาของจำเลยที่ว่า จำเลยไม่ทราบว่าโจทก์จะถอยรถออกไปจำเลยมิได้มีเจตนาจะปิดกั้นไม่ให้โจทก์เอารถออก ศาลฎีกาเห็นพ้องกับศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยไม่ยอมถอยรถให้โจทก์ออกเป็นการรังแกข่มเหงโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนรำคาญ แม้ซอยนั้นจะเป็นซอยในที่ดินของนางสวรรค์ สุวรรณเนตร ซึ่งแบ่งให้ผู้อื่นเช่าปลูกบ้านอยู่อาศัย แต่ประชาชนก็ชอบที่จะเข้าออกไปติดต่อกับผู้ที่อยู่ในที่ดินในซอยนั้นได้ ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยได้กระทำในที่สาธารณสถานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 397
           พิพากษายืน
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

มาตรา ๓๙๗  #ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ ต่อผู้อื่น อันเป็นการรังแก ข่มเหง คุกคาม หรือกระทำให้ได้รับความอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการ กระทำในที่สาธารณสถานหรือต่อหน้าธารกำ นัลหรือเป็นการกระทำอันมีลักษณะส่อไปใน ทางที่จะล่วงเกินทางเพศต้องระวางโทษจำคุก
ไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคสองเป็นการ กระทำโดยอาศัยเหตุที่ผู้กระทำมีอำนาจเหนือผู้ถูกกระทำอันเนื่องจากความสัมพันธ์ในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชานายจ้างหรือผู้มีอำนาจเหนือประการอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2558

6 ปัญหากับเพื่อนบ้าน


บทความนี้มีประโยชน์ต่อการอยู่อาศัยร่วมกันอย่างมีความสุขผู้เขียนได้อ่านเจอจึงนำมาเผยแพร่ให้เพื่อน
สมาชิกหมู่บ้านฮาบิเทียบางใหญ่ได้อ่านบ้างเพราะมีหลายๆข้อที่มีปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วในหมู่บ้านของเรา
ซึ่งมีทั้งแนวทางแก้ไขจนถึงขั้นฟ้องร้องกันเป็นเรื่องใหญ่โต   แต่หากทุกๆคนหันมายอมรับปรับปรุงแก้ไขกันโดยสันติวิธี หมู่บ้านเราก็จะมีเพื่อนบ้านที่น่ารักผลก็คือทุกคนมีความสุขเพราะบ้านคือวิมานของเรา..




บ่อยครั้งมีเรื่องขัดแย้งกับเพื่อนบ้านตั้งแต่เรื่องเล็กๆ หงุดหงิด กวนใจ ไปจนถึงเรื่องใหญ่ถึงขั้นฟ้องร้องกัน TerraBkk จึงรวบรวม 6 ข้อพิพาท ที่กฎหมายช่วยคลายปม ดังนี้


1. ต้นไม้ เมื่อรุกล้ำเขตแดนกรรมสิทธิ์คนอื่น เจ้าของต้องตัดทิ้ง แต่หากส่วนของรากรุกล้ำ เกิดปัญหาต่อโครงสร้างผู้ได้รับความเสียหายมีสิทธิเข้าตัดฟันต้นไม้ได้เลย และดอกผลที่ยื่นไปในแดนกรรมสิทธิ์ของคนอื่น ที่ยังไม่ร่วงหล่นถือเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของต้นไม้
2. วิว บางท้องถิ่นซึ่งมีวิวทะเลหรือป่าเขาที่เป็นธรรมชาติ กฎหมายมักจะระบุห้ามปลูกต้นไม้สูงหรือสร้างสิ่งก่อสร้าง ซึ่งบังวิวของเพื่อนบ้าน กฎหมายอาจจะระบุให้สิทธิแก่เจ้าของบ้านที่ถูกบังวิวให้สามารถยื่นฟ้องร้องเพื่อรักษาสิทธิชมวิวของตนได้
3. เสียง คือ เหตุรำคาญ การกระทำใดๆ อันเป็นเหตุให้เกิดกลิ่น แสง รังสี เสียง ความร้อน สิ่งมีพิษ ความสั่นสะเทือนฝุ่น ละออง เขม่า เถ้า หรือกรณีอื่นใด จนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ สามารถแจ้งเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้
4. น้ำฝนจากหลังคาบ้านของเพื่อนบ้าน สามารถร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนและฟ้องร้องให้มีการรื้อถอนได้
5. สัตว์เลี้ยง ก่อความรำคาญ มีสิทธิเรียกร้องเอาสินไหมทดแทนจากเจ้าของสัตว์ หรือคนรับเลี้ยงได้
6. การจอดรถขวางหน้าบ้าน ถือว่าเป็นกระทำความผิดฐานก่อความเดือดร้อนรำคาญใจตามมาตรา 397 หมวดลหุโทษ ต้นไม้ ต้นไม้อย่างไรไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ที่ดินตนเองและผู้อื่นย่อมถือเป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกัน กฎหมายจึงได้มีบทบัญญัติครอบคลุมถึงปัญหาเกี่ยวกับการปลูกต้นไม้ไว้ด้วย กล่าวคือ การปลูกต้นไม้หรือไม้ยืนต้นในริมเขตแดนแห่งกรรมสิทธิ์อาจเกิดปัญหาการรุกล้ำเขตแดน เช่น กิ่งก้านใบ ดอกผล ราก เป็นต้น
 การรุกล้ำของต้นไม้ดังกล่าวมีประเด็นเงื่อนแง่ในด้านกฎหมายดังนี้
1. ส่วนของกิ่งก้านใบหรือผลยื่นล่วงล้ำไปในที่ดินของผู้อื่น การปลูกต้นไม้ใกล้ชิดแนวเขตโดยไม่คำนึงถึงประเภทของต้นไม้นั้นว่าตามธรรมชาติและพันธุ์ไม้นั้นจะเติบโตได้เพียงไร เมื่อเกิดการยื่นรุกล้ำไปแล้วกฎหมายกำหนดให้ผู้ได้รับความเสียหายต้องแจ้งให้เจ้าของต้นไม้ตัดฟันไม่ให้เกิดการล่วงล้ำเสียก่อน หากไม่ตัดฟันต้นไม้ตามที่แจ้งจึงจะมีอำนาจเข้าตัดฟันต้นไม้และเรียกค่าเสียหายได้ กรณีเข้าไปตัดฟันเองโดยไม่แจ้งให้เจ้าของต้นไม้ทราบก่อนอาจมีความผิดตามกฎหมายอาญาข้อหาทำให้เสียทรัพย์ และข้อหาบุกรุก
2. ส่วนของรากรุกล้ำ เกิดปัญหาเกี่ยวกับการทำลายโครงสร้าง เช่น ทำให้กำแพงพัง รากฐานบ้านพัง เป็นต้น กฎหมายกำหนดให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายมีสิทธิเข้าตัดฟันต้นไม้ได้เลย แต่อย่างไรก็ตามเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับคดีอาญาข้อหาทำให้เสียทรัพย์ และข้อหาบุกรุก ให้ยุ่งยากในทางปฏิบัติจึงควรบอกกล่าวให้เจ้าของต้นไม้ทราบก่อนด้วย
3. ส่วนของดอกหรือผลต้นไม้ ถือเป็นดอกผลและผลประโยชน์ที่ผู้ปลูกต้องการแต่เนื่องด้วยต้นไม้ปลูกริมแนวเขตทำให้ดอกหรือผลต้นไม้ออกผลยื่นไปในแดนกรรมสิทธิ์ของคนอื่น ดังนั้นจึงมีประเด็นต้องพิจารณาต่อไปว่าดอกหรือผลดังกล่าวเป็นของใคร เจ้าของต้นไม้ก็ยืนยันว่าเป็นของตนเองเพราะทำการปลูกไว้ ส่วนเจ้าของที่ดินที่เสียหายก็อ้างว่าดอกหรือผลอยู่ในเขตที่ดินของตนจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง โดยในประเด็นของดอกผลมีสิ่งที่ต้องควรพึงระวัง ดังนี้
3.1 หากดอกหรือผลไม้ในส่วนที่ยื่นรุกล้ำไปในแนวเขตของผู้อื่นนั้นยังไม่หลุดจากขั้วต้นไม้ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของต้นไม้ เพราะเป็นดอกผลอันเกิดจากต้นไม้นั้นโดยตรง หากมีการเด็ดไปจากต้นผู้เอาไปมีความผิดอาญาข้อหาลักทรัพย์
3.2 หากดอกหรือผลไม้ในส่วนที่ยื่นรุกล้ำมีการร่วงหล่นไปในที่ดินของผู้อื่นแล้ว การเอาไปไม่ผิดข้อหาลักทรัพย์ จึงมีนักกฎหมายบางคนหัวหมอบอกว่าต้องทำให้หล่นก่อนจะได้ไม่ผิด แต่ความจริงการทำให้หล่นก็อาจผิดฐานทำให้เสียทรัพย์และพยายามลักทรัพย์ได้เช่นเดียวกัน วิว ถ้าเพื่อนบ้านทำการต่อเติมบ้าน หรือปลูกต้นไม้ใหม่บังวิว โดยปกติคนเราไม่มีสิทธิในแสงแดด อากาศ และวิว ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งธรรมชาติที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ยกเว้นเฉพาะกรณีที่เพื่อนบ้านเจตนาทำสิ่งก่อสร้างขึ้นเพื่อแกล้งบังวิว หรือในกรณีที่กฎหมายท้องถิ่นระบุห้ามสร้างสิ่งก่อสร้าง ซึ่งเป็นการบังวิวของคนส่วนใหญ่ บางท้องถิ่นซึ่งมีวิวทะเลหรือป่าเขาที่เป็นธรรมชาติ กฎหมายมักจะระบุห้ามปลูกต้นไม้สูงหรือสร้างสิ่งก่อสร้าง ซึ่งบังวิวของเพื่อนบ้าน กฎหมายอาจจะระบุให้สิทธิแก่เจ้าของบ้านที่ถูกบังวิวให้สามารถยื่นฟ้องร้องเพื่อรักษาสิทธิชมวิวของตนได้ เสียง พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดการ ป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษที่เกี่ยวกับเหตุรำคาญด้านพิษทางเสียง ดังนี้ มาตรา 25 ในกรณีที่มีเหตุอันอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อน แก่ผู้ที่อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง หรือผู้ที่ต้องประสบกับเหตุนั้น ดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นเหตุรำคาญ
 (4) การกระทำใดๆ อันเป็นเหตุให้เกิดกลิ่น แสง รังสี เสียง ความร้อน สิ่งมีพิษ ความสั่นสะเทือนฝุ่น ละออง เขม่า เถ้า หรือกรณีอื่นใด จนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
มาตรา 26 ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจห้ามผู้ใดผู้หนึ่งมิให้ก่อเหตุรำคาญ ในที่ หรือทางสาธารณะหรือสถานที่เอกชนรวมทั้งการระงับเหตุรำคาญด้วย ตลอดทั้งการดูแล ปรับปรุง บำรุงรักษา บรรดาถนน ทางบก ทางน้ำรางระบายน้ำ คู คลอง และสถานที่ต่างๆ ในเขตของตนให้ปราศจากเหตุรำคาญในการนี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือเพื่อระงับ กำจัด และควบคุมเหตุรำคาญต่างๆ ได้ 
มาตรา 27 ในกรณีที่มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นในที่หรือทางสาธารณะ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจ ออกคำสั่งเป็นหนังสือให้บุคคล ซึ่งเป็นต้นเหตุ หรือเกี่ยวข้องกับการก่อ หรืออาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญนั้น ระงับ หรือป้องกันเหตุรำคาญภายในเวลาอันสมควร ตามที่ระบุไว้ในคำสั่ง และถ้าเห็นสมควรจะให้กระทำโดยวิธีใดเพื่อระงับหรือป้องกันเหตุรำคาญนั้น หรือสมควรกำหนดวิธีการเพื่อป้องกันมิให้เกิดขึ้นได้อีกในอนาคต ให้ระบุไว้ในคำสั่งในกรณีที่ปรากฎแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าไม่มีการปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น และเหตุรำคาญที่เกิดขึ้นอาจเกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นระงับเหตุนั้นและอาจจัดการตามความจำเป็นเพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุรำคาญนั้นขึ้นอีก โดยบุคคลซึ่งเป็นต้นเหตุหรือเกี่ยวข้องกับการก่อหรืออาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดการนั้น
มาตรา 74 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามมาตรา 27 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 28วรรคหนึ่งหรือวรรคสาม โดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควร หรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 27 วรรคสอง หรือมาตรา 28 วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ประมวลกฎหมายอาญา มีบทบัญญัติเกี่ยวกับกำกำหนดโทษผู้ก่อให้เกิดเสียง ดังนี้ มาตรา 370 ผู้ใดส่งเสียงหรือทำให้เกิดเสียงหรือกระทำความอื้ออึงโดยไม่มีเหตุอันควรจนทำให้ประชาชนตกใจหรือเดือดร้อน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 100 บาท 
มาตรา 372 การทะเลาะกันอื้ออึงในทางสาธารณะ หรือสาธารณสถานก็อาจทำให้ผู้ทะเลาะเบาะแว้งส่งเสียงดังอื้ออึง มีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท 
มาตรา 376 ผู้ใดยิงปืนหรือใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุในเมือง หมู่บ้านหรือที่ชุมนุมชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 วัน หรือปรับไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เสียงดังที่มาจาก งานเลี้ยงดื่มสุรา เมาแล้วโวยวายเป็นประจำ ตามกฎหมายแล้วถือเป็นความผิดทางอาญาลหุโทษ ฐานส่งเสียง หรือทำให้เกิดเสียง เพื่อนบ้านมีสิทธิฟ้องร้องได้ ถ้าหมาของเพื่อนบ้านเห่าไม่หยุด ให้ขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่ดูแลสัตว์ (animal control authorities) ถ้าเจ้าหน้าที่ไม่สามารถแก้ปัญหาให้
     สุดท้ายสามารถยื่นฟ้องร้องเพื่อนบ้านเพื่อขออำนาจศาลสั่งแก้ปัญหาได้ น้ำฝนจากหลังคาบ้านของเพื่อนบ้านไหลตกลงมาในบริเวณพื้นที่บ้านของเรา กฎหมายถือเป็นการละเมิดสิทธิแบบหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งผู้เสียหายมีสิทธิฟ้องร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนและฟ้องร้องให้มีการรื้อถอนได้ สัตว์เลี้ยงเพื่อนบ้านก่อความรำคาญ เช่น สุนัขหรือแมวเข้ามากัด เข้ามาทำลายสิ่งของในบ้าน ปัญหาการถ่ายอุจจาระ เข้ามาคุ้ยขยะ ทำความสกปรกให้เกิดขึ้น กฎหมายวางหลักเกณฑ์ไว้ว่า ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของสัตว์ดังกล่าว มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าของสัตว์นั้น หรือจากบุคคลผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของ ทั้งนี้ ผู้ได้รับความเสียหายจะทำร้ายสัตว์หรือฆ่าสัตว์เพื่อเป็นการแก้แค้นไม่ได้ เพราะอาจมีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์และอาจถูกฟ้องร้องฐานละเมิดอีกด้วย การจอดรถขวางหน้าบ้าน การจอดรถขวางประตูบ้านของผู้อื่น เป็นการกระทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนรำคาญ เพราะไม่สามารถนำรถเข้าหรือออกจากบ้าน จะมาอ้างว่าถนนหน้าบ้านเป็นที่สาธารณะนั้นทำไม่ได้ เนื่องจากหากเจ้าของรถใช้สิทธิไปก่อความเดือดร้อนของผู้อื่นทั้งที่รู้แก่ใจถึงความเสียหาย จะถือว่า กระทำความผิดฐานก่อความเดือดร้อนรำคาญใจตามมาตรา 397 หมวดลหุโทษ 
    ทั้งนี้ เมื่อเป็นความผิดกฎหมายอาญาแล้ว ตำรวจจะปัดไม่รับแจ้งความร้องทุกข์ไม่ได้ ถ้าปฏิเสธ อาจมีโทษฐานละเว้นหน้าที่โดยทุจริต เพราะความผิดฐานนี้ไม่จำเป็นต้องมีความเสียหายเกิดขึ้น แค่เกิดพฤติกรรมที่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนรำคาญใจ ก็เป็นความผิดอาญาฐานนี้แล้ว


บทความนี้นำมาเผยแพร่ซึ่งสามารถอ่านเนื้อหาต้นฉบับได้ที่ : TerraBKK.com - http://terrabkk.com/?p=22211

วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558

รวมLINK ความคิดความเห็น

รวบรวม Link ที่มีผู้ออกความคิดเห็นเกี่ยวกับจ่าย-หรือไม่จ่ายค่าส่วนกลางแล้วผลเป็นอย่างไร

อันแรกจาก      เว็บไซด์ศูนย์ปรึกษากฎหมายประชาชน

เว็บที่สองจากเว็บ  Pantip อ่านแล้วได้ความรู้และความมันไปด้วย

เว็บที่สาม จาก Pantip    ใครเคยมีประสบการณ์ "ไม่จ่ายค่าส่วนกลาง". บ้างคะ.

ลองไปอ่านดูมีมุมมองและเหตุผลของแต่ละคนแตกต่างกันไป น่าศึกษาและเป็นอุทธาหรณ์
เป็นอย่างดีแก่กรรมการนิติบุคคลฯและลูกบ้าน
สำหรับในหมู่บ้านฮาบิเทียบางใหญ่ของเราผ่านการมีกรรมการบริหารชุดแรก 2 (2555-2557ปีและชุดที่ 2 (2557-2559)
แต่ส่วนใหญ่ยังเป็นคนเดิมอยู่ จะมีมาเพิ่มแค่ 2 คน แต่น่าเสียดาย 2 คนที่เพิ่มใหม่ได้ลาออกจากการเป็นกรรมการไปแล้วด้วยด้วยเหตุผลส่วนตัว    กรรมการที่เหลืออยู่มุ่งมั่นที่จะทำงานและบริหารจัดการ
เงินส่วนกลางให้ดีที่สุด ให้ได้ประโยชน์สูงสุดและ โปร่งใสตรวจสอบได้ตลอดเวลา

การจ่ายค่าส่วนกลางให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

พบบทความที่เกี่ยวข้องกับ กรรมการนิติบุคคลฯและลูกบ้าน นำมาเป็นความรู้ เปรียบเทียบความคิดเห็นจากหลายหมู่บ้านหลายๆคน
                การจ่ายค่าส่วนกลางให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร เป็นสิ่งจำเป็น เพราะเมื่อคำนึงถึงความจำเป็นที่นิติบุคคลหมู่บ้าน จัดสรรที่ต้องบริหารจัดการให้หมู่บ้านอยู่ในสภาพที่ดี สังคมที่ดี ผู้อยู่อาศัยมีความสุข แต่ที่พบเห็นเสมอคือจะมีผู้อาศัย จำนวนหนึ่งมักอ้างสิทธิว่าตัวเองมีสิทธิในทรัพย์สินส่วนตัวและสิทธิในพื้นที่ส่วนรวมภายในหมู่บ้าน แต่ปฏิเสธหน้าที่และ ความรับผิดชอบในการจ่ายค่าใช้จ่ายส่วนกลาง โดยจะอ้างเหตุผลต่างๆนาๆ

ลูกบ้านที่ไม่จ่ายค่าส่วนกลางจะเป็นปัญหาใหญ่ของผู้บริหารและกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรทุกแห่ง ซึ่งแต่ละแห่งต่างก็พยายามหาวิธีทางจัดการในรูปแบบที่ต่างกัน บ้างครั้งก็ได้ผลไม่ได้ผลบ้าง

การดำเนินการของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมักจะใช้วิธีการจากเบาไปหาหนัก มีตั้งแต่การปรับเปลี่ยนสติ้กเกอร์ เข้า-ออกหมู่บ้านทุก 3 เดือน 6 เดือน หรือทุกปี เพื่อกระตุ้นให้ลูกบ้านมาชำระค่าส่วนกลาง โดยแลกกับในการเข้า-ออก หมู่ บ้านที่สะดวก แต่วิธีนี้ก็ไม่สามารถใช้กับลูกบ้านที่เห็นแก่ตัวได้เพราะผู้ที่ไม่ชำระก็มักจะยอมแลกบัตรทุกเช้า-เย็น หรือไม่ก็ ยอมลงมาจากรถ เพื่อยกไม้กั้นทางเข้า-ออกด้วยตัวเองก็มี

วิธีที่แรงขึ้นมาอีกขั้น คือการงดจัดเก็บขยะ หรืองดสิทธิในการเรียกร้องค่าชดเชยกรณีมีขโมยขึ้นบ้าน แต่ก็อาจจะ ไม่ได้ผลมากนัก เพราะลูกบ้านที่ตั้งใจจะไม่จ่าย ก็จะไม่สนใจและไม่กลัวขโมยก็มี

พรบ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 มาตรา 50 บัญญัติไว้ว่าผู้ที่ค้างชำระติดต่อกันตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป อาจระงับการ ให้บริการหรือการใช้สิทธิในสาธารณูปโภค และในกรณีที่ค้างชำระติดต่อกันตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ ระงับการจดทะเบียนสิทธิสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรรของผู้ค้างชำระจนกว่าจะชำระให้ครบถ้วน (ซึ่งจะคล้ายกับ พรบ. อาคารชุด)

ผลทางกฎหมาย คือเมื่อลูกบ้านผู้ค้างชำระเกิน 6 เดือน ให้นิติบุคคลสามารถระงับการทำนิติกรรมที่สำนักงานที่ดิน ได้ แต่เมื่อมาคิดดูดีๆ แล้วจะพบว่า กว่าผู้ซื้อบ้านจะผ่อนหมด จนถึงวันจะทะเบียนไถ่ถอนจำนอง ก็ใช้เวลาประมาณ 15-25 ปี กว่าจะทำนิติกรรมอีกครั้งก็ต้องรอเป็นสิบๆปี ถ้าไม่ยอมจ่ายทำไม

คำตอบจากที่พบ จากแนวทางปฏิบัติของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรเคยปฏิบัติมาคือ การฟ้องร้องต่อศาล ซึ่งเป็นวิธี เดียวที่ได้ผลแน่นอน 100% และปัจจุบันศาลได้มีการพิจารณาคดีหลายร้อยคดี มีแนวทางที่ชัดเจนว่าผู้อาศัยต้องเป็นผู้มีหน้าที่ ชำระค่าส่วนกลาง เพราะเห็นว่าในเมื่อเราซื้อบ้านจัดสรรเราย่อมต้องรู้อยู่แล้วว่า เราจะต้องจ่ายค่าส่วนกลาง

ดังนั้น ผู้ซื้อบ้านจัดสรรทั้งหลายขออย่าได้ดื้อดึงหรือเอารัดเอาเปรียบ เพื่อนบ้านเลยนะครับ เพราะในที่สุดแล้วเมื่อ มีการฟ้องร้องเกิดขึ้น ผู้ซื้อบ้านก็ต้องเสียทั้งค่าส่วนกลาง ดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าทวงถาม ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี ค่าทนาย และยังไม่นับรวมค่าเสียเวลา และอื่นๆ อีกมากมาย

จากดินสอพอง

วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2558

วิธีการยกเลิก นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร(แบบเอาจริง เอาจัง เหน็บแนม แกมประชด)

วิธีการยกเลิก นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร(แบบเอาจริง เอาจัง เหน็บแนม แกมประชด)

-แนะนำว่า ให้ท่านสมัครเป็นกรรมการหมู่บ้าน หรือ นิติบุคคล โดยหาเสียงว่า ถ้าเราได้เป็น จะจดทะเบียนเลิกนิติบุคคล จะได้เลิกเก็บค่าคุ้มครอง เอ๊ย ค่าส่วนกลาง ซะ
-หากได้เป็นประธาน ให้เลือกกรรมการ 4 คน. ทำบันทึกการประชุม  จดทะเบียนเลิก 20,000 บาท
-จดทะเบียน เลิกนิติบุคคล แล้วทำจดหมายแจ้งไปยัง เทศบาล/อบต.(กรมที่ดิน)  ทราบว่าหมู่บ้านนี้ได้จดทะเบียนเลิกกิจการ เรียบร้อยแล้ว ขอให้ทาง เทศบาล/อบต. มาดูแลต่อ และทุกบ้านก็เหลือภาระแค่ไปจ่าย ค่าขยะ หลังละ 30-40 บาท ต่อเดือน อย่างเดียวเท่านั้น...เฮ……เป็นไทแล้วโว้ย
ส่วนไฟของถนนในหมู่บ้านไม่ต้องกลัวว่าจะดับ  ที่เป็นหลอดไฟฟ้าตามเสา รวมถึงถนน ก็เป็นหน้าที่ของรัฐคือ เทศบาล/อบต. เค้าก็จะมาดูแลให้ต่อไป...
หรือถ้ากลัวจัดมาก ว่าบ้านจะมืด หรือ ไม่มีคนดูแล ก็ให้จั๊มต่อให้เข้าไปในมิเตอร์บ้านเราเลยก็ได้ หน้าบ้านเรา เราจ่ายเองก็ได้… 
และยืนยันว่าไม่มีใครมีสิทธิ์มาตัด น้ำ ไฟ ของบ้านเรา เพราะเราได้ขอไปกับการไฟฟ้า หรือประปามาแล้ว
เลิกไปเถอะ ค่าส่วนกลางพวกที่เข้ามาเป็นกรรมการโดยมาก 99% มาหาผลประโยชน์
-ส่วนเรื่องความปลอดภัย  เป็นเรื่องของ บุญกรรม การจัดการ และการวางตัว...
ต่อให้มี ยามมันก็ไม่ได้ช่วยรับประกันว่าขโมยจะไม่มาขึ้นบ้าน เห็นขึ้นกันสนุกเลย
หลายครั้ง ก็เสียเงินจ้างยามมาเป็นสายโจร
-ต้นไม้หน้าบ้าน เก็บไว้ดูแลตัดแต่งเอง กวาดใบไม้เอง ได้ออกกำลังกายดีออก ต้นไม้อะไรดูแลยาก เช่น ชาดัด เข็ม ต้องตัดแต่ง ก็เอาออกไปเลย เอากระถางดอกไม้สวยๆ อ่างบัว มาตั้งแทน
เหมาะอย่างยิ่งสำหรับหมู่บ้านขนาดเล็ก
แต่สำหรับหมู่บ้านขนาดใหญ่ คงต้องคิดให้รอบ เพราะปัญหาก็คือ สวนสวย สระน้ำ ซึ่งเป็นภาระหนักสำหรับหมู่บ้าน ลองปรึกษาดูว่าจะสามารถยกให้ เทศบาล/อบต. มาดูแลได้ไหม อาจยกให้เป็นสวนชุมชน สระน้ำชุมชน อย่าไปหวงสถานที่ ว่าเดี๋ยวจะมีคนอื่นมาใช้ หาทางดูแลมันอย่างยั่งยืนดีกว่า ยังไง สวนสวย แล้วเราก็อยู่ใกล้กว่า จริงๆจะมีซักกี่คนถ่อไปใช้ที่หมู่บ้านอื่น เห็นมีแต่หลายๆที่ ต้องทิ้งรกร้าง เพราะไม่มีปัญญาทำนุบำรุง...